Tuesday, October 23, 2012

สมุนไพร : กระชาย

ชื่อสมุนไพร : กระชาย  
ชื่ออื่น ๆ : หัวละแอน (ภาคเหนือ) กระชาย กะชาย(ภาคกลาง) ขิงทราย ขิงแดง ขิงกระชาย(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Boesenbergia pandurata Holtt.
วงศ์ : ZINGLBERACEAE
 
ลักษณะทั่วไป
  • ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นมีความสูงประมาณ 9 ซม. ส่วนกลางของลำต้นเป็นแกนแข็ง มีกาบหรือโคนใบหุ้ม
  • ใบ : มีกลิ่นหอม ก้านใบแทงขึ้นจากหัวในดิน ออกเป็นรัศมีติดผิว ขนาดใบจะกว้าง 7-9 ซม. ยาว 30-35 ซม.
  • ดอก : มี สีม่วงดอกออกเป็นช่อ กลีบรองกลีบดอกเชื่อมต่อกัน มีรูปลักษณะเป็นท่อ มีขน โคนเชื่อมติดกันเป็นช่อยาว เกสรตัวผู้จะเหมือนกับกลีบดอก อับเรณูอยู่ใกล้ปลาย ท่อเกสรตัวเมีขนาดยาว เล็ก ยอดของมันเป็นรูปปากแตร เกลี้ยงไม่มีขน
 การขยายพันธุ์ :
  • จะใช้ส่วนที่เป็นเหง้า หรือหัวในดิน ปลูกได้ดีในดินที่ร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี ดินเหนียว ดินลูกรังไม่เหมาะที่จะปลูก

ส่วนที่ใช้ :
  • รากเหง้า หรือหัวที่อยู่ในดิน
สรรพคุณ :
  • เป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง ใจสั่นหวิว ขับปัสสาวะพิการ แก้บิดมูกเลือด แก้ปวดมวนในท้อง ท้องเดิน ใช้หัว หรือเหงาปิ้งไฟให้สุกินกับน้ำปูนใส ถ้าเป็นโรคที่เกี่ยวกับกามตายด้านหรือบำรุงกำหนัด ใช้นมกระชายดำและหัวดอง หรือแช่กับเหล้ากิน
 
หมายเหตุ :
  • กระชายมีทั้งหมด 3 ประเภท เช่น กระชายดำ กระชายแดง กระชายเหลือง สำหรับกระชายที่ใช้ในการปรุงอาหาร คือ กระชายเหลือง Kaempferia pandurata Roxb. In Siam Plant Names,1948,p.287 “กระชาย (ไทย): ลำแอน กระแอน (พายัพ); โป้ตาวอ (กะเหรี่ยงกำแพง);ชี้พู่(เงี้ยง).”Gastrochilus panduratum Burkill,I,1935,p.1035,p.1061 “Temu Kunchi; in Jaava, Kunchi; in Siam, Kachai.”
 
อ้างอิง : วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม.พจนานุกรมสมุนไพรไทย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพ ฯ : รวมสาสน์ (1977), 2548.=

0 comments:

Post a Comment