Saturday, November 17, 2012

กระชาย ไม้ล้มลุกบำรุงหัวใจ


 
 

กระชายสามารถบำรุงหัวใจได้

  ลักษณะทั่วไป

   ต้น เป็นพรรณไม้ล้มลุกลำต้นมีความสูง ประมาณ   90   ซม.    ส่วนกลางของลำต้นเป็น แกนแข็ง  มีกาบหรือโคนใบหุ้ม

   ใบ มีกลิ่นหอม ก้านใบแทงขึ้นจากหัวในดินออกเป็นรัศมีติดผิว ขนาดใบจะกว้าง 7-9 ซม.  ยาว 30 - 35 ซม.   

   ดอก มีสีม่วงแดง  ดอกออกเป็นช่อ  กลีบรอง กลีบดอกเชื่อมติดกัน  มีรูปลักษณะเป็นท่อ มีขน  โคนเชื่อมติดกันเป็นท่อยาว เกสรตัวผู้ จะเหมือนกับกลีบดอก   อับเรณูอยู่ใกล้ปลายท่อ เกสรตัวเมียมีขนาดยาวเล็ก  ยอดของมันเป็นรูปปากแตรเกลี้ยงไม่มีขน

   การขยายพันธุ์ จะใช้ส่วนที่เป็นเหง้า หรือ หัวในดิน ปลูกได้ดีในดินที่ร่วนซุย การระบายน้ำได้ดี ดินเหนียว และดินลูกรังไม่เหมาะสมที่จะปลูก

   ส่วนที่ใช้ รากเหง้า หรือหัวที่อยู่ในดิน

   สรรพคุณ เป็นยาบำรุงหัวใจบำรุงกำลัง แก้ใจสั่นหวิว ขับปัสสาวะพิการ แก้บิดมูก เลือด  แก้ปวดมวนในท้อง  ท้องเดินให้ใช้หัว หรือเหง้า ปิ้งไฟให้สุกกินกับน้ำปูนใส  ถ้าเป็นโรคที่เกี่ยวกับโรคกามตายด้านหรือ  บำรุงกำหนัด  ใช้นมกระชาย  ดำและหัวดอง  หรือแช่กับเหล้ากิน
 
แหล่งที่มาของข่าว

พืชสวนครัว กระชาย



วันนี้ก็ได้นำผักสวนครัวที่เราๆ ก็รู้จักกันอยู่มา บอกถึงคุณค่า และสรรพคุณ ของกระชายกันเลย

ส่วนที่ใช้ : เหง้าและรากของกระชาย

สรรพคุณของกระชาย : กระชายมีรสชาติที่เผ็ดร้อน สารที่สำคัญในราก และเหง้าของกระชายมี ฤทธิ์ยับยั้ง ที่ช่วยในการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ได้ ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหาร และแก้โรคในช่องปาก และเป็นยาอายุวัฒนะ ได้อีกด้วยล่ะ

ใช้ในการนำมาประกอบอาหาร : โดยการใช้ส่วนรากของกระชาย มาเป็นส่วนผสมของเครื่องแกง เช่น ขนมจีนน้ำยา และเป็นส่วนประกอบของขนมอีกหลายชนิด เพื่อช่วยในการดับกลิ่นคาว จากเนื้อสัตว์ และปลา อย่างเช่น ผัดเผ็ดปลาดุก แกงเผ็ดเนื้อ แกงป่า เป็นต้น

เกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับกระชาย

1. กระชายช่วย แก้บิด, ท้องร่วง, ท้องเสีย, โดยการนำเอารากกระชายย่าง ไฟให้สุก แล้วเอามาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำปูนใสในอัตราส่วนที่เหมาะสม กระชายแก่ 4 หัว ต่อน้ำปูนใส 5 ช้อนแกง คนให้เข้ากัน แล้วคั้นเอาแต่น้ำ นำมาดื่มครั้งละ 3-5 ช้อนแกง ทุกครั้งที่ถ่าย เมื่ออาการดีขึ้น ให้กินวันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็น เมื่อหายแล้วกินต่อไปอีก 1-2 วัน วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ก็พอ

2. กระชายช่วย รักษาโรคริดสีดวงทวารได้ โดยนำต้มกระชายพร้อมมะขามเปียก เติมเกลือแกงลงไปเล็กน้อย รับประทานก่อนนอนทุกวัน แค่นี้ก็ช่วยได้แล้ว

3. กระชายช่วยบำรุงกำลัง ซึ่งกระชายเป็น ยาอายุวัฒนะอย่างหนึ่ง โดยการตำรากกระชาย 1 กำมือให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ ผสมกับน้ำผึ้ง ในอัตราส่วนที่เท่ากัน นำมารับประทานก่อนอาหารเย็น 1 ชั่วโมง ครั้งละประมาณ 1 ถ้วยชา ก็จะช่วยบำรุงกำลังได้ดีอีกด้วยล่ะ

4. กระชาย ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยในการกระตุ้นให้หัวใจเต้นอย่างสม่ำเสมอ เพียงนำรากกระชายแก่ ไปปอกเปลือกหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปตากแดดให้แห้ง จากนั้นนำมาบดให้เป็นผงเก็บไว้ละลายกับน้ำร้อน ดื่มแก้อาการเป็นลม

5. กระชาย ช่วยไล่แมลง เพียงใช้รากกระชาย ตะไคร้ หอมแดง ข่า ใบสะเดาแก่ นำส่วนผสมที่ได้มาตำผสมกัน ส่วนผสมที่มาผสมกับน้ำ แล้วฉีดในบริเวณที่มีแมลงรบกวนเพียงแค่นี้ง่ายๆ ก็ไม่มีแมลงมากวนใจแล้วล่ะ

สุดยอดจริงๆ กระชายเนี้ย !!!


สรรพคุณของกระชาย



สรรพคุณของกระชาย

เพื่อสุขภาพด้วยสมุนไพร เพราะว่ากระชายมีรสเผ็ดร้อน ที่เป็นสาระสำคัญ ที่มีอยู่ในรากและเหง้าของกระชาย ที่มีสามารถช่วยฤทธิ์ยับยั้ง การเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ภายในลำไส้ ช่วยขับลม ช่วยแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ กระชายช่วยให้ เจริญอาหาร และยังช่วยแก้โรคในช่องปาก ได้เป็นอย่างดี
-      กระชาย ช่วยในการแก้บิด อาการท้องร่วง ท้องเสีย โดยการนำรากกระชาย ไปย่างไฟ แล้วนำมาตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำปูนใส นำมาคั้นเอาแต่น้ำดื่ม เพื่อช่วยในการรักษาอาการดังกล่าว

-      กระชาย ช่วยในการ รักษาโรคริดสีดวงทวาร โดยการนำกระชาย ไปต้มพร้อมกับมะขามเปียก แล้วเติมเกลือแกงเล็กน้อย จากนั้นนำมารับประทาน เพื่อช่วยบรรเทาอาการ ให้ดีขึ้น

-      กระชาย ช่วยบำรุงกำลัง เพราะว่ากระชาย เป็นยาอายุวัฒนะ โดยเรา นำเอากระชายมาตำรากกระชาย 1 กำมือ ให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ ผสมกับน้ำผึ้ง นำมารับประทานก่อนอาหารเย็น ช่วยในการบำรุง ร่างกาย บำรุงกำลังด้วย

-      กระชาย สามารถ ช่วยบำรุงหัวใจ เพื่อช่วยกระตุ้นให้หัวใจ ให้มีการเต้นสม่ำเสมอ โดยการ นำเอากระชาย แห้งนำมาบดให้เป็นผง นำมาชงละลายกับน้ำร้อน แล้วดื่มเป็นประจำ

-      กระชาย ช่วยแก้กลาก เกลื้อน น้ำกัดเท้า นำกระชายล้าง ผึ่งให้แห้ง ฝานเป็นแว่น แล้ว บดให้เป็นผงหยาบ เอาน้ำมันพืช มาอุ่นในหม้อใบเล็กๆ เติมผงกระชาย ใช้น้ำมัน 3 เท่า ของปริมาณกระชาย หุง ไฟอ่อนๆ ไปสักพักราว 15 นาที จากนั้นแล้ว กรองกระชายออก เก็บน้ำมันไว้ ในขวด นำมาใช้ทาแก้กลาก เกลื้อน รับรองว่าหายแน่นอน

-      กระชาย ช่วยแก้คันศีรษะจากเชื้อรา ด้วยสูตรทำแชมพู สระผมสูตรน้ำมัน จากที่ไหนก็ได้ โดยสามารถใช้แทนน้ำมันมะพร้าว   หรือจะใช้น้ำมันกระชาย โกรกผม ให้ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำมันพืชอีก 1 เท่าตัว โกรกด้วยน้ำมันกระชายสัก 5 นาที แล้วนวดให้เข้าหนังศีรษะ แล้วจึงสระผมล้างออก เพียงเท่านี้ หนังศีรษะของเรา ก็จะสะอาดมากขึ้นแล้วล่ะ



-      การนำรากกระชาย ตะไคร้ หอมแดง ข่า ใบสะเดาแก่ นำมาตำผสมกัน ใช้ฉีด บริเวณที่มีแมลงรบกวน ได้อีกด้วย

-      ช่วยในการ บำบัดโรคกระเพาะ โดยการกินรากสด เพียงวันละ 3 มื้อ ก่อนอาหาร 15 นาที สัก 3 วัน กินนาน 2 สัปดาห์ ถ้าหากว่า เผ็ดร้อนเกินไป หลังวันที่ 3 ให้กินขมิ้นสดปอกเปลือก ขนาดเท่ากับ 2 ข้อ นิ้วก้อยจนครบ 2 สัปดาห์ แทนได้เหมือนกัน

-      กระชาย ช่วยในการบรรเทาอาการแผลในปาก โดยการนำเอากระชาย นำมาปั่นรากกระชายทั้งเปลือก 2 แง่ง กับน้ำสะอาด 1 แก้ว เติมเกลือ ลงไปเล็กน้อย กรองด้วยผ้าขาวบาง นำมากลั้วปากเพื่อ ช่วยในการรักษาอาการ แผลในปาก

-      แก้ฝ้าขาวในปาก บดรากกระชาย โดยไม่ต้องปอกเปลือก ในโถปั่นพอหยาบ ใส่ขวดปิดฝาแช่ไว้ในตู้เย็น กินก่อนอาหารครั้งละ 1 ช้อนกาแฟเล็ก วันล่ะ 3 มื้อ

-      ผงกระชายทั้งเปลือก บดตากแห้งปั้นลูกกลอนกับน้ำผึ้ง กินวันละ 3 ลูกก่อนเข้านอน  ช่วยในการ บำรุงร่างกาย ได้อีกด้วย


ขอบคุณบทความจาก : panyathai.or.th

สวนผักสุดที่รัก- - กระชายสด- -


สวนผักสุดที่รัก- - กระชายสด- -

หน้า หนาวมาถึงก็เป็นฤดูเก็บเกี่ยวแล้วละ กระชายที่ปลูกไว้ก็ใบร่วงโรย นั้นแสดงว่าได้รากกระชายแก่ได้ที่พอที่จะขุดมาเก็บไว้ได้แล้ว ปีนี้มีกระชายอยู่สองแปลง ไม่ค่อยได้ดูแลเท่าไหร่ คือไม่เคยใส่ปุ๋ยให้เขาเลยรากกระชายที่ได้เลยไม่ค่อยจะอิ่มเอบมากนักเมื่อ เทียบกับปีก่อนหน้าที่กระชายแต่ละรากอวบอิ่มสุดๆๆ การขุดกระชายเราจะขุดลงไปลึกๆๆเพื่อป้องกันไม่ให้ตัดรากกระชาย กระจัดกระจายเกินไป เมื่อเรารู้ว่าต้นกระชายที่ปลูกอยู่จุดไหนก็ขุดรอบๆๆต้นนั้นแหละแล้วก็ ค่อยๆๆงัดขึ้นมาจนรากกระชายโผล่ออกมาพ้นดินนั้นแหละ การขุดดูเหมือนจะไม่ยากแต่ในเมื่อมันมีเยอะเลยเมื่อยตุ้มไม่ใช่เล่นเหมือน กันนะ การขุดที่ว่าเมื่อยแล้วยังไม่แพ้การล้างรากกระชายอีก ก็รากทั้งหมดอยู่ใต้ดินมาเป็นปีปีเลยซับดินไว้ซะแน่นหนาเชียว ขุดกระชายมาได้เราเองไม่สามารถที่จะล้างให้เสร็จเลยต้องแช่กระชายข้างคืนไว้ เพื่อละลายดิน(เกี่ยวไหมนี่??) ขุดกระชายหมดแปลงก็แกะส่วนหัวที่เราไม่นำไปปรุงอาหารลงปักในดินปลูกปล่อยให้ โตแล้วปีหน้าฟ้าใหม่ก็ค่อยมาขุดรากกันอีกหน

กระชายปีนี้แปลงแรกจะลงรากขยายกอใหญ่ไม่ใช่เล่นเพราะเราปลูกในที่ร่มดินร่วน และฝนก็ตกบ่อบส่วนอีกแปลงดินจะแข็งไปนิดและอยู่กลางแดดจ้า รากเลยไม่ขยายและไม่ลงหัวมากเท่าที่ควร


ต้นกระชาย


โชว์กอกระชายสดๆๆจากสวนจ้า


ดินเกาะที่รากกระชายเยอะสุดๆๆ

ต้องแช่กระชายในน้ำค้างคืนก่อนเพราะล้างดินออกได้ยากมาก

ล้างเสร็จแล้วจ้า ล้างสุดความสามารถแล้วได้แค่นี้แหละยังงัยก่อนจะเอามาทำอาหารค่อยล้างให้สะอาดอีกครั้ง
ปลูกมาทั้งปีได้ผลผลิตประมาณนี้จ้า





ชื่อสามัญ / ชื่ออังกฤษ Boesenbergia ชื่ออื่น / ชื่อท้องถิ่น กะแอน ระแอน (ภาคเหนือ) ขิงทราย (มหาสารคาม) ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพ)

200805021610540.kcสาร สำคัญที่พบ รากและเหง้าของกระชายมีน้ำมันหอมระเหยซึ่งประกอบไปด้วยสารไพนีน (Pinene) แคมฟีน (Camphene) เมอร์ซีน (Myrcene) ไลโมนีน (Limonene) บอร์นีออล (Borneol) และการบูร (Camphor) เป็นต้น สรรพคุณ กระชายมีรสเผ็ดร้อน สารสำคัญในรากและเหง้ากระชายมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ในลำไส้ ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหารและแก้โรคในช่องปาก และเป็นยาอายุวัฒนะ วิธีใช้เพื่อเป็นยา / ประโยชน์อื่น 1. แก้บิด ท้องร่วง ท้องเสีย นำรากกระชายย่างไฟให้สุก ตำให้ละเอียดผสมน้ำปูนใสในอัตราส่วน กระชายแก่ 4 หัว ต่อน้ำปูนใส 5 ช้อนแกง คนให้เข้ากันดีแล้วคั้นเอาแต่น้ำดื่มครั้งละ 3-5 ช้อนแกง ทุกครั้งที่ถ่าย เมื่ออาการดีขึ้นให้กินวันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็น เมื่อหายแล้วกินต่ออีก 1-2 วัน วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น 2. รักษาโรคริดสีดวงทวาร ต้มกระชายพร้อมมะขามเปียก เติมเกลือแกงเล็กน้อย รับประทานก่อนนอนทุกวัน 3. ช่วยบำรุงกำลัง เป็นยาอายุวัฒนะ ตำรากกระชาย 1 กำมือให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ ผสมกับน้ำผึ้งในอัตราส่วนที่เท่ากัน รับประทานก่อนอาหารเย็น 1 ชั่วโมง ครั้งละประมาณ 1 ถ้วยชา 4. ช่วยบำรุงหัวใจ กระตุ้นให้หัวใจเต้นสม่ำเสมอ นำรากกระชายแก่ ปอกเปลือกหั่นเป็นชิ้นเล็ก ตากแดดให้แห้ง บดให้เป็นผงเก็บไว้ละลายกับน้ำร้อนดื่มแก้อาการเป็นลม 5. ไล่แมลง ใช้รากกระชาย ตะไคร้ หอมแดง ข่า ใบสะเดาแก่ ตำผสมกัน ผสมน้ำฉีดในบริเวณที่มีแมลงรบกวน ส่วนที่ใช้ประกอบอาหาร เหง้าและราก วิธีใช้ในการประกอบอาหาร รากกระชายเป็นส่วนผสมของเครื่องแกง ขนมจีนน้ำยา และเป็นส่วนประกอบของขนมอีกหลายชนิดเพื่อดับกลิ่นคาวเนื้อและปลา เช่น ผัดเผ็ดปลาดุก แกงเผ็ดเนื้อ แกงป่า หลนปลาร้า ฯลฯ

ที่มา : สมุนไพรดอทคอม

กระชาย แก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ

กระชาย
กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดิน ท้องร่วง โรคกระเพาะ

 http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/images/hb_61.jpg

ชื่อวิทยาศาสตร์ :    Boesenbergia rotunda (L.) Mansf.

ชื่อสามัญ :   Kaempfer

วงศ์ :    Zingiberaceae

ชื่ออื่น :  กระชายดำ กะแอน ขิงทราย (มหาสารคาม) จี๊ปู ซีฟู เปาซอเร๊าะ เป๊าสี่ระแอน (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ละแอน (ภาคเหนือ)  ว่านพระอาทิตย์ (กรุงเทพฯ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ล้มลุก มีเหง้าสั้น แตกหน่อได้ รากอวบ รูปทรงกระบอกหรือรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายเรียว กว้าง 1-2 ซม. ยาว 4-10 ซม. ออกเป็นกระจุก ผิวสีน้ำตาลอ่อน เนื้อในสีเหลือง มีกลิ่นเฉพาะตัว ส่วนที่อยู่เหนือดินเป็นใบ มี 2-7 ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปรี กว้าง 5-12 ซม. ยาว 12-50 ซม. ปลายเรียวแหลม โคนมนหรือแหลม ขอบเรียบ เส้นกลางใบ ก้านใบ และกาบใบด้านบนเป็นร่อง ด้านล่างนูนเป็นสัน ก้านใบเรียบ ยาว 7-25 ซม. กาบใบสีชมพู ยาว 7-25 ซม. ระหว่างก้านใบและกาบใบมีลิ้นใบ ช่อดอกแบบช่อเชิงลด ออกที่ยอดระหว่างกาบใบคู่ในสุด ยาวประมาณ 5 ซม. แต่ละดอกมีใบประดับ 2 ใบ สีขาวหรือขาวอมชมพูอ่อน รูปใบหอก กว้างประมาณ 8 มม. ยาว 3.5-4.5 ซม. กลีบเลี้ยงสีขาวหรือขาวอมชมพูอ่อน โคนติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 1.7 ซม. ปลายแยกเป็น 3 แฉก กลีบดอกสีขาวหรือขาวอมชมพูอ่อน โคนติดกันเป็นหลอด ยาวประมาณ 6 ซม. ปลายแยกเป็น 3 กลีบ รูปใบหอก ขนาดไม่เท่ากัน กลีบใหญ่ 1 กลีบ กว้างประมาณ 7 มม. ยาวประมาณ 1.8 ซม. อีก 2 กลีบ ขนาดเท่ากัน กว้างประมาณ 5 มม. ยาวประมาณ 1.5 ซม. เกสรเพศผู้ 6 อัน แต่ 5 อัน เปลี่ยนไปมีลักษณะเหมือนกลีบดอก โดย 2 กลีบบนสีชมพู รูปไข่กลับ ขนาดเท่ากัน กว้างประมาณ 1.2 ซม. ยาวประมาณ 1.7 ซม. อีก 3 กลีบล่างสีชมพูติดกันเป็นกระพุ้ง กว้างประมาณ 2 ซม. ยาวประมาณ 2.7 ซม. ปลายแผ่กว้างประมาณ 2.5 ซม. มีสีชมพูหรือม่วงแดงเป็นเส้นๆ อยู่เกือบทั้งกลีบโดยเฉพาะอย่างยิ่งตรงกระเปาะและปลายกลีบ มีเกสรเพศผู้ที่สมบูรณ์ 1 อัน ก้านชูอับเรณูหุ้มก้านเกสรเพศเมีย ผลแก่แตกเป็น 3 เสี่ยง เมล็ดค่อนข้างใหญ่

สรรพคุณ :

    เหง้าใต้ดิน - มีรสเผ็ดร้อนขม แก้ปวดท้อง มวนในท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ บำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด แก้กามตายด้าน เป็นยารักษาริดสีดวงทวาร

    เหง้าและราก - แก้บิดมูกเลือด เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ ใช้เป็นยาภายนอกรักษาขี้กลาก

    ใบ - บำรุงธาตุ แก้โรคในปาก คอ แก้โลหิตเป็นพิษ ถอนพิษต่างๆ

วิธีใช้และปริมาณที่ใช้ :

    แก้ท้องร่วงท้องเดิน
    ใช้เหง้าสด 1-2 เหง้า ตำหรือฝนเหง้าที่ปิ้งไฟแล้วกับน้ำปูนใส หรือคั้นให้ข้นๆ รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนแกง

    แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียด ปวดมวนในท้อง
    ใช้เหง้าและราก ประมาณครึ่งกำมือ (สดหนัก 5-10 กรัม, แห้ง 3-5 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่ม หรือใช้ปรุงเป็นอาหารรับประทาน

    แก้บิด
    ใช้เหง้าสด 2 เหง้า บดให้ละเอียด เติมน้ำปูนใส คั้นเอาแต่น้ำดื่ม

    เป็นยาบำรุงหัวใจ
    ใช้เหง้าและรากกระชายปอกเปลือก ล้างน้ำให้สะอาด หั่นตากแห้ง บดเป็นผง ใช้ผงแห้ง 1 ช้อนชา ชงน้ำร้อน ½ ถ้วยชา รับประทานครั้งเดียว

    ยารักษาริดสีดวงทวาร
    ใช้เหง้าสด 60 กรัม ประมาณ 6-8 เหง้า ผสมกับเนื้อมะขามเปียก 60 กรัม เกลือแกง 3 ช้อนแกง ตำแล้วต้มกับน้ำ 6 แก้ว เคี่ยวให้เหลือ 2 แก้ว รับประทานครั้งละ ½ แก้ว ก่อนนอน รับประทานติดต่อกัน 1 เดือน ริดสีดวงทวารควรจะหาย

สารเคมี :
          ทั้งส่วนรากและส่วนต้น ประกอบด้วยสาร alpinetin, pinocembrin, cardamonin,boesenbergin A, pinostrobin และน้ำมันหอมระเหย และในส่วนรากยังพบ chavicinic acid อีกด้วย

กระชาย วิธีใช้เพื่อเป็นยา

กระชาย


กระชาย
สรรพคุณ กระชาย มีรสเผ็ดร้อน สารสำคัญในรากและเหง้ากระชายมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย ในลำไส้ ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหารและแก้โรคในช่องปาก และเป็นยาอายุวัฒนะ

วิธีใช้เพื่อเป็นยา / ประโยชน์อื่น

1. แก้บิด ท้องร่วง ท้องเสีย นำรากกระชายย่างไฟให้สุก ตำให้ละเอียดผสมน้ำปูนใสในอัตราส่วน กระชายแก่ 4 หัว ต่อน้ำปูนใส 5 ช้อนแกง คนให้เข้ากันดีแล้วคั้นเอาแต่น้ำดื่มครั้งละ 3-5 ช้อนแกง ทุกครั้งที่ถ่าย เมื่ออาการดีขึ้นให้กินวันละ 3 ครั้ง เช้า กลางวัน เย็น เมื่อหายแล้วกินต่ออีก 1-2 วัน วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น

2. รักษาโรคริดสีดวงทวาร ต้มกระชายพร้อมมะขามเปียก เติมเกลือแกงเล็กน้อย รับประทานก่อนนอนทุกวัน

3. ช่วยบำรุงกำลัง เป็นยาอายุวัฒนะ ตำรากกระชาย 1 กำมือให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำ ผสมกับน้ำผึ้งในอัตราส่วนที่เท่ากัน รับประทานก่อนอาหารเย็น 1 ชั่วโมง ครั้งละประมาณ 1 ถ้วยชา

4. ช่วยบำรุงหัวใจ กระตุ้นให้หัวใจเต้นสม่ำเสมอ นำรากกระชายแก่ ปอกเปลือกหั่นเป็นชิ้นเล็ก ตากแดดให้แห้ง บดให้เป็นผงเก็บไว้ละลายกับน้ำร้อนดื่มแก้อาการเป็นลม

5. ไล่แมลง ใช้รากกระชาย ตะไคร้ หอมแดง ข่า ใบสะเดาแก่ ตำผสมกัน ผสมน้ำฉีดในบริเวณที่มีแมลงรบกวน

การปลูกกระชาย พืชสมุนไพร

การปลูกกระชาย พืชสมุนไพร

จากการขยายตัวของตลาดผลิตภัณฑ์สมุนไพรและอาหารเสริมของไทยเมื่อปี 2548 ที่ทำรายได้ถึงสี่หมื่นล้านบาท ทำให้ไทยนั้นมียุทธศาสตร์พัฒนาสมุนไพร เพื่อให้ไทยนั้นเป็นศูนย์กลางสุขภาพของเอเชีย โดยกระทรวงสาธารณสุขได้เลือกประโยชน์สมุนไพรตามที่ตลาดต้องการ นั่นคือช่วยชะลอความชรา บำรุงกำลังและช่วยลดความอ้วน ซึ่งกระชายก็มีคุณสมบัติดังกล่าวทั้งหมด
ผู้คนส่วนใหญ่น่าจะรู้จักสมุนไพรที่เรียกว่าโสม หรือว่า ginger ในภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นสมุนไพรของจีนหรือของเกาหลีที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก คุณสมบัติด้านสมุนไพรที่เด่นของโสมคือว่าเชื่อว่าเพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกาย ผู้บริโภคได้ดังที่ชาวไทยจะเรียกทีมนักกีฬาเกาหลีว่าทีมพลังโสมเป็นต้น กระชายมีหลายประเภทด้วยกัน เช่น กระชายเหลืองกับกระชายดำ เป็นหลัก ซึ่งกระชายดำกำลังเป็นที่นิยม จนกระทั่งกระชายเหลืองรู้สึก
ว่าจะถูกลดลงไป แต่เขาบอกว่ากระชายเหลืองมีคุณสมบัติทางสมุนไพรดีกว่ากระชายดำ คือไม่ได้ขึ้นอยู่กับสี บางทีคนเราคิดว่าถ้าสีเข้มน่าจะมีประโยชน์ น่าสนใจมากกว่า
กระชาย เป็นพืชล้มลุก มีเหง้าหรือลำต้นอยู่ใต้ดิน ซึ่งมีลักษณะเรียว ยาวอวบน้ำ ตรงกลางเหง้าจะพองคล้ายกระสวย ออกเกาะกลุ่มกันเป็นกระจุก มีสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลแกมส้ม เนื้อข้างในเป็นสีเหลืองมีกลิ่นหอม ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน สีค่อนข้างแดง ใบมีขนาดยาวรีรูปไข่ ปลายใบแหลมมีขนาดใหญ่สีเขียวอ่อน โคนใบเป็นกาบหุ้มซ้อนกัน ออกดอกเป็นช่อที่ยอด ดอกมีสีขาวหรือสีขาวปนชมพู ผลของกระชายเป็นผลแห้ง

จะทำสวนกระชายต้องเริ่มต้นอย่างไร
เกษตรกรจะต้องทำความเข้าใจเบื้องต้นก่อนว่า กระชายเป็นพืชที่ชอบสภาพแสงรำไร ดังนั้น การปลูกกระชายส่วนใหญ่จะต้องปลูกภายใต้ร่มเงาของไม้อื่น ถ้าเป็นสวนผลไม้เก่าจะดีมาก โดยเฉพาะในสภาพพื้นที่ที่มีการปลูกกล้วยจะดีมาก ในการเตรียมดินจะไม่ยุ่งยากเหมือนกับการ ปลูกพืชอื่น เพียงแต่ตัดต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ออกบ้างให้มีพื้นที่ว่างปลูกกระชายได้
กระชาย มี 3 ชนิด คือ
1.กระชายเหลืองหรือกระชาย ขาว


2.กระชายแดง
3.กระชายดำ
 ฤดูปลูก
ปลูกได้ทั้งปี แต่ฤดูปลูกที่เหมาะสมอยู่ในระหว่างเดือนมีนาคม - พฤษภาคม
ประโยชน์ของกระชาย
เหง้ากระชายรักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด โดยนำเหง้าและรากประมาณครึ่งกำมือ (สด หนัก 5- 10 กรัม แห้งหนัก 3 - 5 กรัม) ต้มเอาน้ำดื่มเวลามีอาการ หรือปรุงเป็นอาหารรับประทาน คุณค่าด้านอาหาร กระชายมีรสเผ็ดร้อน ช่วยดับกลิ่นคาวได้ดี ปรุงเป็นอาหารหลายชนิด เช่น น้ำยาใส่ขนมจีน แกงปลาป่า ผัดเผ็ดปลาดุก ปลาร้าหลน กะปิคั่ว แกงขี้เหล็ก เหง้ากระชายมีสารอาหารสำคัญ คือแคลเซี่ยม และวิตามินเอ ส่วนแป้ง ไขมัน และวิตามินมีจำนวนน้อย รับประทานอาหารที่มีกระชายอยู่ด้วยจะช่วยขับลม เจริญอาหารได้ดี
ขั้นตอนการปลูกกระชาย
1.ไถพรวน หรือขุดดินเพื่อกำจัดวัชพืชและปรับปรุงโครงสร้างดิน


2.นำ ขี้เถ้าแกลบผสมกับแกลบ  อัตราส่วน  1:1  หว่านให้ทั่วแปลงปลูก  พื้นที่ 1  ไร่  ใช้ขี้เถ้า  100  กระสอบ  แกลบ  100  กระสอบ  พรวนให้เข้ากัน
3.นำหัวพันธุ์กระชายปลูกในแปลงปลูกให้เป็นแถว
4.ใช้เศษฟางหญ้า  หรือทางมะพร้าวแห้ง  ปิดคลุมไว้
5.ประมาณ  1-2  เดือน  หว่านปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก  ให้ทั่วแปลง
6.การเก็บเกี่ยวผลผลิต  8-12  เดือน  หรือปล่อยให้ต้นกระชายฟักตัว
การปลูกลงแปลง
     ต้องเตรียมแปลงปลูก โดยการพรวนดินตากแดดทิ้งไว้นาน 5 - 7 วัน เพื่อปรับสภาพดิน ยกร่องกว้างประมาณ 1.50 เมตร ขุดหลุมลึกประมาณ 10 - 15 ซม.ใส่ปุ๋ยคอกให้พอเหมาะ แล้วทำการปลูก ระยะห่างระหว่างหลุมและแถวประมาณ 30 X 30 ซม. ใส่หัวหรือเหง้า 2 -3 หัว(แง่ง) ต่อหลุม แล้วกลบหลุมรดน้ำให้ชุ่ม


การปลูกการเตรียมเหง้าพันธุ์กระชาย
- คัดเลือกหัวพันธุ์ที่มีอายุ 7-9 เดือน มีตาสมบูรณ์ ไม่มีโรคแมลงทำลาย
- แบ่งหัวพันธุ์โดยการหั่น ขนาดของเหง้าควรมีตาอย่างน้อย 3-5 ตาหรือแง่ง มีน้ำหนัก 15-50 กรัม
- แช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง มาลาไธออน หรือคลอไพรีฟอส 1-2 ชั่วโมง ตามอัตราแนะนำ
- ชุบท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีป้องกัน กำจัดเชื้อราก่อนปลูก
การเตรียมหัวพันธุ์กระชาย
การปลูกใช้ท่อนพันธุ์มี 2 ลักษณะคือหัวแม่และแง่ง
- การปลูกโดยหัวแม่ควรมีน้ำหนักประมาณ 15-50 กรัม/ หัว
- การปลูกด้วย แง่งพันธุ์มีปล้อง 7-9 ปล้อง / ชิ้น น้ำหนัก 15-30 กรัม ยาว 8-12 ซม.
ก่อนปลูกกระชาย หัวพันธุ์ควรแช่ด้วยยาป้องกันเชื้อรา และยาฆ่าเพลี้ยโดยแช่ไว้ประมาณ 30 นาทีการปลูกควรรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 50 กก. / ไร่ และวางท่อนพันธุ์ กลบดินหนาประมาณ 5-10 ซม. ขมิ้นจะใช้เวลาในการงอก ประมาณ 30-70 วัน หลังปลูก
การปลูกในไร่ (กรณีปลูกปริมาณมากๆ)

การเตรียมดิน
     ควรไถ 2 ครั้ง ครั้งแรกไถพรวนเพื่อย่อยดิน ทำการยกร่องปลูก ระหว่างต้นประมาณ 25 - 30 ซม. ก่อนปลูกควรใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินในอัตรา 200 - 400 กก./ไร่ ทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน วิธีการปลูกก็โดยฝังเง้าหรือหัวพันธุ์ลงในหลุมปลูกลึก ประมาณ 5 - 10 ซม.ในพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้เหง้าพันธุ์ประมาณ 160 - 200 กก.
การดูแลรักษา
   

 เมื่อต้นกระชายดำอายุได้ 1 เดือน ควรดายหญ้ากำจัดวัชพืชพร้อมทั้งใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในอัตรา 1,000 กก./ไร่ ไม่ควรใส่ปุ๋ยเคมีเพราะจะทำให้หน่อกระชายดำที่เกิดใหม่ยาว และสีของหัวกระชายดำไม่ดำ ทำให้คุณภาพเปลี่ยนไป และเมื่อต้นกระชายดำอายุได้ 2 เดือน ให้พรวนดินกลบโคนต้นควรมีการปลูกซ่อมในหลุมที่ไม่งอก
วิธีการเก็บเกี่ยว
เมื่อกระชายดำอายุได้ 10 -12 เดือน สังเกตจากใบและลำต้นจะเริ่มเหี่ยวแห้งและหลุดออกจากต้น ระยะนี้ คือ ระยะพักตัวของกระชายดำเพราะจะทำให้กระชายดำมีโอกาส ได้สะสมอาหารและตัวยาได้เข้มข้นอย่างเต็มที่ เพื่อที่จะขยายพันธุ์ต่อไป จึงเป็นระยะที่เก็บเกี่ยวได้ดี ทำให้ได้กระชายดำที่มีคุณภาพดี กระชายดำที่ปลูกในเขตพื้นที่อำเภอนาแห้ว - อำเภอภูเรือ จะได้รับผลผลิตประมาณ 650 - 900 กก./ไร่
1.ใช้วิธีขุด  การใช้ขี้เถ้าและแกลบผสมจะทำให้ขุดง่าย  ดินร่วนซุยหัวกระชายโต  อวบอ้วน  ขาว  เป็นที่ต้องการของตลาด
2.การใช้ขี้เถ้าแกลบผสมกับแกลบ  เป็นการปรับโครงสร้างดินเหนียวที่ดีวิธีหนึ่ง
3.เป็นการประหยัด  และทำง่ายต่อเกษตรกร

ผลผลิต 
โดยเฉลี่ยหัวพันธุ์ 1 กก. สามารถให้ผลผลิตได้ 5-8 กก. ดังนั้น 1 ไร่ จะได้ผลผลิต ประมาณ 1,000-2,000 กก.
การแปรรูป
ในปัจจุบันนอกจากใช้กระชายดำเพื่อประกอบเป็นตัวยาโดยตรงแล้ว ยังนำไปบดเป็นผง บรรจุซองชงน้ำร้อนดื่มบำรุงสุขภาพ ใช้ดองดื่มเพื่อให้เกิด ความกระชุ่มกระชวย ทำลูกอมและที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน คือ ทำ ไวน์กระชายดำ
 การจำหน่าย


ราคา สินค้า กระชาย(หัว) วันที่ 27 พฤษภาคม 2555 ที่ตลาดสี่มุมเมือง  ราคาเฉลี่ยวันนี้: 30.00 บาท/กิโลกรัม, ราคาสูงสุด: 30.00 บาท/กิโลกรัม, ราคาต่ำสุด:: 30.00 บาท/กิโลกรัม ...
 การเก็บรักษาพันธุ์
กระชายดำที่แก่จัดจะมีอายุประมาณ 11 - 12 เดือน หัวจะต้องสมบูรณ์ อวบใหญ่ปราศจากเชื้อโรค เก็บไว้ในที่แห้งและเย็นนาน ประมาณ 1 - 3 เดือน จึงจะนำไปปลูกต่อได้

แหล่งที่มา : กรมวิชาการเกษตร
ภาพ : อินเตอร์เน็ต

สมุนไพร : กระชาย

สมุนไพร : กระชาย


กระชาย

ในตำรายาไทย จัดให้กระชายเป็นยาครอบจักรวาล กินแล้วกระปรี้กระเปร่า เป็นยาบำรุงธาตุ ทำให้เจริญอาหาร เราใช้กระชายทั้งหัวทั้งราก เป็นทั้งอาหารและเป็นยา สรรพคุณทางยาที่ได้จากตำรายาวัดโพธิ์ให้รายละเอียดว่า กระชายเป็นยาขับปัสสาวะ แก้กระษัย เบาเหลือง-แดง เจ็บปวดบั้นเอว แก้ปวดมวนท้อง แก้ใจสั่น แก้ระดูขาว บำรุงกำลัง และบำรุงกำหนัด

สำหรับหัวกระชาย หมอโบราณเอามาเผาไฟ แล้วฝนกับน้ำปูนใส ใช้เป็นยาแก้บิด แก้โรคที่เกิดในปาก ปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากแห้ง ปากแตก

รากกระชาย คนโบราณเรียกว่านมกระชาย กินแล้วจะทำให้กระชุ่มกระชวย มีกำลังและใช้กับอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้

เมื่อสรรพคุณของกระชายทำให้มีกำลัง กระปรี้กระเปร่า แถมยังแก้อาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศได้ด้วย หมอไทยโบราณจึงเรียกกระชายว่า "โสมไทย"

จากงานวิจัยทางห้องปฏิบัติการพบว่าสารสกัดจากกระชายในแอลกอฮอล์และคลอโรฟอร์ม มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา ที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังและเชื้อราในปากได้ดีพอสมควร ทั้งหมดนี้เป็นสรรพคุณของกระชายแบบธรรมดา ๆ นี่แหละ ไม่มีตำรามาตรฐานเล่มไหนที่กล่าวถึง "กระชายดำ" ซึ่งเป็นสมุนไพรที่ถูกกล่าวขวัญกันมากในสมัยนี้ แต่เราก็เห่อกระชายดำเสียจน ผู้เขียนถูกถามบ่อย ๆ ว่ากระชายดำดีอย่างไร กินแล้วจะมีผลเสียหรือไม่

ค้นจากหนังสือชื่อ กระชายดำ ของสถาบันการแพทย์แผนไทย กระทรวงสาธารณสุข ปี 2547 เขาเขียนไว้ว่า กระชายดำมีสรรพคุณแก้โรคบิด ปวดท้อง ว่ากันว่าเป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้ผมดำ ตาแจ่มใส ผิวเต่งตึง ทำให้กระชุ่มกระชาย บำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด แถมยังใช้ในด้านอยู่ยงคงกระพันได้ด้วย

ถามอาจารย์ประกอบ อุบลขาว แพทย์แผนไทยชื่อดังในสงขลา อาจารย์อธิบายว่า กระชายเป็นยาดี บำรุงกำลัง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ยิ่งไข่กระชาย (เหง้า) ยิ่งมีคุณภาพดีที่สุด แต่กระชายดำซึ่งเป็นไม้ป่ามาทีหลัง อาจารย์ว่าหัวของมันเหมือนขิงเสียมากกว่า น่าจะเรียกว่าขิงดำเสียด้วยซ้ำ ส่วนสรรพคุณก็เป็นเรื่องที่ว่ากันไป อาจารย์ว่าสู้กระชายดั้งเดิมไม่ได้หรอก

ถามอาจารย์ ศ. ดร.ไมตรี สุทธจิตต์ ผู้เชี่ยวชาญทางชีวเคมีถึงความแตกต่างของกระชายธรรมดากับกระชายดำ อาจารย์ก็บอกว่าสีม่วงเกือบดำของกระชายดำนั้นคือสารโพลีฟีนอลตัวหนึ่งที่เรียกว่าแอนโทไซยานีน น่าจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ที่กินกระชายดำแล้วรู้สึกซู่ซ่านั้น อาจารย์บอกว่านั่นเป็นเพราะกระชายดำทำให้หลอดเลือดขยายตัว มีงานวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์พบว่ากระชายดำทำให้องคชาติแข็งตัวขึ้นมาได้จริง ส่วนกระชายธรรมดา หรือกระชายขาวที่มีบันทึกว่าบำรุงกำหนัดนั้นก็เกิดจากผลทางสรีระวิทยาอย่างเดียวกัน เรื่องนี้ก็เป็นที่สนใจของนักวิทยาศาสตร์ และคงมีการค้นคว้าต่อไป ส่วนผลเสียของกระชายดำนั้นยังไม่มีใครรายงาน ถ้าใช้เป็นประจำและใช้ไปนาน ๆ จะเกิดอะไรขึ้นก็ยังไม่มีใครทราบ ยังไม่มีใครบันทึกอะไรไว้ ก็เลยเป็นเรื่องที่ต้องติดตามต่อไป

จากข้อมูลของสถาบันการแพทย์แผนไทย กล่าวถึงพิษวิทยาของกระชายดำว่าหากหนูขาวกินกระชายดำ 13.33 กรัม /กก. จะทำให้ถึงตายได้ ถ้าจะเทียบเป็นปริมาณในคนก็คือ ไม่ควรกินเกินครั้งละประมาณ 5-6 ขีด นั่นแสดงว่าการใช้กระชายดำก็ต้องระมัดระวังให้มาก เพราะไม่ใช่ว่ามันจะไม่มีพิษเสียเลยทีเดียว

แต่การใช้กระชายดำเขาใช้ทีละน้อย เช่นกินครั้งละ 15 กรัม หรือใช้กระชายดำ 4-5 ขีดไปดองเหล้า 1 ขวดแล้วกินครั้งละเพียง 30 ซีซี จึงไม่ทำให้เกิดอันตราย ส่วนปัญหาที่ว่า หากกินเป็นประจำจะมีพิษสะสมหรือไม่ รายงานการวิจัยจนถึงทุกวันนี้ก็ยังให้คำตอบไม่ได้

แต่มีข้อมูลที่น่าสนใจคือ หากหนูขาวตัวเมียกินกระชายดำเป็นประจำ มันจะมีคอเลสเตอรอลสูง แถมมีระดับโซเดียมในเลือดสูงอีกด้วยจนน่าห่วงว่าความดันเลือดจะสูงได้ ดังนั้นใครจะมาอ้างว่ากระชายดำลดคอเลสเตอรอลได้ ลดความดันเลือดได้ ให้ฟังหูไว้หู เอาเถอะ อาจจะสรุปได้ว่า "กระชาย(เฉย ๆ)" เป็นยาดีเทียบได้กับโสม ส่วน "กระชายดำ" ก็น่าจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพ สีม่วงเข้มเกือบดำของกระชายดำทำให้เป็นที่น่าสนใจ



เอกสารอ้างอิง :
กระชาย หรือ "โสมไทย" โดย พญ.ลลิตา ธีระสิริ   บัลวี ศูนย์ธรรมชาติบำบัด http://www.balavi.com

Tuesday, October 23, 2012

สมุนไพรกระชาย


สมุนไพรกระชาย

กระชายเป็นสมุนไพรที่คนในสมัยโบราณของไทยเรานั้น ใช้กันมาช้านานแล้ว โดยจะนำมาทำขนมจีนน้ำยา ซึ่งกลิ่นของกระชาย จะหอมชวนรับประทานมาก หรืออาจจะนำมาปรุงในอาหารหลายอย่าง เช่น ผัดพริกแกงใส่กระชาย ผัดเผ็ดหมูป่า แล้วแต่ว่าใครจะชื่นชอบแบบไหนนั่นเอง กระชายเป็นนสมุนไพรที่มีประโยชน์มากมายขึ้นอยู่กับว่าผู้ที่นำไปใช้นั้นนำไป ผสมหรือปรุงแต่งรสชาติของอาหารแบบไหนถึงจะอร่อย บางคนอาจจะใช้กระชายเป็นตัวดับกลิ่นของอาหารประเภทอาหารคาวให้มีความหอมน่ารับประทานขึ้นก็ได้
ประโยชน์ของกระชาย
>>กระชายช่วยบำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง กระดูกไม่เปราะบางง่ายอีกทั้งยังช่วยบำรุงตับไตให้แข็งแรง ดูแลระบบมดลูก รังไข่ กระเพาะปัสสาวะ ดูแลหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรงอีกด้วยค่ะ นอกจากนี้กระชายยังมีประโยชน์อีกหลายด้าน คือช่วยบำรุงหัวใจ ให้หัวใจมีความแข็งแรง และเต้นอย่างม่ำเสมอ การไหลเวียนของเลือดก็จะดีด้วย สำหรับคนที่มีกรรมพันธ์เกี่ยวกับโรคคอพอก ก็ให้ทานสมุนไพรชนิดนี้เป็นประจำจะช่วยไม่ให้เกิดโรคได้เพราะกระชายจะช่วย ไม่ให้ต่อมไธรอยต์ผิดปกตินั่นเองสำหรับสุภาพสตรีหากทานสมุนไพรชนิดนี้เป็น ประจำ ก็จะช่วยในเรื่องของมะเร็งเต้านมได้ดีทีเดียว สำหรับสุภาพบุรุษหากทานกระชายเป็นประจำจะช่วยในเรื่องของต่อมลูกหมากโตค่ะ
>>ในน้ำกระชายมีวิตามิน ซี บี 1 บี 3 บี 5 และแคลเซี่ยม ยังช่วยบำรุงสมอง ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองส่วนกลางคืนดีขึ้น ถ้าหากว่าเราได้กินสมุนไพรกระชายคู่กับใบบัวบกแล้วละก็ จะเป็นการบำรุงสมองทางตรงดังนั้นจึงควรกินเป็นประจำจึงจะเห็นผลลัพธ์ อีกทั้งยังป้องกันไม่ให้เกิดโรคสมองเสื่อมได้ง่ายด้วย
>>กระชายช่วยปรับในเรื่องของความดันโลหิตในร่างกายให้มีความพอดี ไม่ให้สูงหรือต่ำมากเกินไป
>>สำหรับผู้ที่ไม่อยากแก่ง่ายก็ให้ดื่มน้ำกระชายเป็นประจำช่วยให้เส้น ผมไม่หงอกเร็วก่อนวัยอันควรและเล็บมือ เล็บเท้าก็จะแข็งแรงด้วย
>>สำหรับสตรีที่คลอดบุตรใหม่ถ้าดื่มน้ำกระชายก็จะช่วยซับน้ำคาวปลา ได้ดีมากเลยค่ะ

ขอบคุณบทความจาก : fws.cc/whatisnippana

สมุนไพร : กระชาย

ชื่อสมุนไพร : กระชาย  
ชื่ออื่น ๆ : หัวละแอน (ภาคเหนือ) กระชาย กะชาย(ภาคกลาง) ขิงทราย ขิงแดง ขิงกระชาย(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Boesenbergia pandurata Holtt.
วงศ์ : ZINGLBERACEAE
 
ลักษณะทั่วไป
  • ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นมีความสูงประมาณ 9 ซม. ส่วนกลางของลำต้นเป็นแกนแข็ง มีกาบหรือโคนใบหุ้ม
  • ใบ : มีกลิ่นหอม ก้านใบแทงขึ้นจากหัวในดิน ออกเป็นรัศมีติดผิว ขนาดใบจะกว้าง 7-9 ซม. ยาว 30-35 ซม.
  • ดอก : มี สีม่วงดอกออกเป็นช่อ กลีบรองกลีบดอกเชื่อมต่อกัน มีรูปลักษณะเป็นท่อ มีขน โคนเชื่อมติดกันเป็นช่อยาว เกสรตัวผู้จะเหมือนกับกลีบดอก อับเรณูอยู่ใกล้ปลาย ท่อเกสรตัวเมีขนาดยาว เล็ก ยอดของมันเป็นรูปปากแตร เกลี้ยงไม่มีขน
 การขยายพันธุ์ :
  • จะใช้ส่วนที่เป็นเหง้า หรือหัวในดิน ปลูกได้ดีในดินที่ร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี ดินเหนียว ดินลูกรังไม่เหมาะที่จะปลูก

ส่วนที่ใช้ :
  • รากเหง้า หรือหัวที่อยู่ในดิน
สรรพคุณ :
  • เป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง ใจสั่นหวิว ขับปัสสาวะพิการ แก้บิดมูกเลือด แก้ปวดมวนในท้อง ท้องเดิน ใช้หัว หรือเหงาปิ้งไฟให้สุกินกับน้ำปูนใส ถ้าเป็นโรคที่เกี่ยวกับกามตายด้านหรือบำรุงกำหนัด ใช้นมกระชายดำและหัวดอง หรือแช่กับเหล้ากิน
 
หมายเหตุ :
  • กระชายมีทั้งหมด 3 ประเภท เช่น กระชายดำ กระชายแดง กระชายเหลือง สำหรับกระชายที่ใช้ในการปรุงอาหาร คือ กระชายเหลือง Kaempferia pandurata Roxb. In Siam Plant Names,1948,p.287 “กระชาย (ไทย): ลำแอน กระแอน (พายัพ); โป้ตาวอ (กะเหรี่ยงกำแพง);ชี้พู่(เงี้ยง).”Gastrochilus panduratum Burkill,I,1935,p.1035,p.1061 “Temu Kunchi; in Jaava, Kunchi; in Siam, Kachai.”
 
อ้างอิง : วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม.พจนานุกรมสมุนไพรไทย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพ ฯ : รวมสาสน์ (1977), 2548.=