Tuesday, October 23, 2012

สมุนไพรกระชาย


สมุนไพรกระชาย

กระชายเป็นสมุนไพรที่คนในสมัยโบราณของไทยเรานั้น ใช้กันมาช้านานแล้ว โดยจะนำมาทำขนมจีนน้ำยา ซึ่งกลิ่นของกระชาย จะหอมชวนรับประทานมาก หรืออาจจะนำมาปรุงในอาหารหลายอย่าง เช่น ผัดพริกแกงใส่กระชาย ผัดเผ็ดหมูป่า แล้วแต่ว่าใครจะชื่นชอบแบบไหนนั่นเอง กระชายเป็นนสมุนไพรที่มีประโยชน์มากมายขึ้นอยู่กับว่าผู้ที่นำไปใช้นั้นนำไป ผสมหรือปรุงแต่งรสชาติของอาหารแบบไหนถึงจะอร่อย บางคนอาจจะใช้กระชายเป็นตัวดับกลิ่นของอาหารประเภทอาหารคาวให้มีความหอมน่ารับประทานขึ้นก็ได้
ประโยชน์ของกระชาย
>>กระชายช่วยบำรุงเส้นเอ็นให้แข็งแรง กระดูกไม่เปราะบางง่ายอีกทั้งยังช่วยบำรุงตับไตให้แข็งแรง ดูแลระบบมดลูก รังไข่ กระเพาะปัสสาวะ ดูแลหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรงอีกด้วยค่ะ นอกจากนี้กระชายยังมีประโยชน์อีกหลายด้าน คือช่วยบำรุงหัวใจ ให้หัวใจมีความแข็งแรง และเต้นอย่างม่ำเสมอ การไหลเวียนของเลือดก็จะดีด้วย สำหรับคนที่มีกรรมพันธ์เกี่ยวกับโรคคอพอก ก็ให้ทานสมุนไพรชนิดนี้เป็นประจำจะช่วยไม่ให้เกิดโรคได้เพราะกระชายจะช่วย ไม่ให้ต่อมไธรอยต์ผิดปกตินั่นเองสำหรับสุภาพสตรีหากทานสมุนไพรชนิดนี้เป็น ประจำ ก็จะช่วยในเรื่องของมะเร็งเต้านมได้ดีทีเดียว สำหรับสุภาพบุรุษหากทานกระชายเป็นประจำจะช่วยในเรื่องของต่อมลูกหมากโตค่ะ
>>ในน้ำกระชายมีวิตามิน ซี บี 1 บี 3 บี 5 และแคลเซี่ยม ยังช่วยบำรุงสมอง ช่วยให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองส่วนกลางคืนดีขึ้น ถ้าหากว่าเราได้กินสมุนไพรกระชายคู่กับใบบัวบกแล้วละก็ จะเป็นการบำรุงสมองทางตรงดังนั้นจึงควรกินเป็นประจำจึงจะเห็นผลลัพธ์ อีกทั้งยังป้องกันไม่ให้เกิดโรคสมองเสื่อมได้ง่ายด้วย
>>กระชายช่วยปรับในเรื่องของความดันโลหิตในร่างกายให้มีความพอดี ไม่ให้สูงหรือต่ำมากเกินไป
>>สำหรับผู้ที่ไม่อยากแก่ง่ายก็ให้ดื่มน้ำกระชายเป็นประจำช่วยให้เส้น ผมไม่หงอกเร็วก่อนวัยอันควรและเล็บมือ เล็บเท้าก็จะแข็งแรงด้วย
>>สำหรับสตรีที่คลอดบุตรใหม่ถ้าดื่มน้ำกระชายก็จะช่วยซับน้ำคาวปลา ได้ดีมากเลยค่ะ

ขอบคุณบทความจาก : fws.cc/whatisnippana

สมุนไพร : กระชาย

ชื่อสมุนไพร : กระชาย  
ชื่ออื่น ๆ : หัวละแอน (ภาคเหนือ) กระชาย กะชาย(ภาคกลาง) ขิงทราย ขิงแดง ขิงกระชาย(ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ชื่อสามัญ : -
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Boesenbergia pandurata Holtt.
วงศ์ : ZINGLBERACEAE
 
ลักษณะทั่วไป
  • ต้น : เป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นมีความสูงประมาณ 9 ซม. ส่วนกลางของลำต้นเป็นแกนแข็ง มีกาบหรือโคนใบหุ้ม
  • ใบ : มีกลิ่นหอม ก้านใบแทงขึ้นจากหัวในดิน ออกเป็นรัศมีติดผิว ขนาดใบจะกว้าง 7-9 ซม. ยาว 30-35 ซม.
  • ดอก : มี สีม่วงดอกออกเป็นช่อ กลีบรองกลีบดอกเชื่อมต่อกัน มีรูปลักษณะเป็นท่อ มีขน โคนเชื่อมติดกันเป็นช่อยาว เกสรตัวผู้จะเหมือนกับกลีบดอก อับเรณูอยู่ใกล้ปลาย ท่อเกสรตัวเมีขนาดยาว เล็ก ยอดของมันเป็นรูปปากแตร เกลี้ยงไม่มีขน
 การขยายพันธุ์ :
  • จะใช้ส่วนที่เป็นเหง้า หรือหัวในดิน ปลูกได้ดีในดินที่ร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี ดินเหนียว ดินลูกรังไม่เหมาะที่จะปลูก

ส่วนที่ใช้ :
  • รากเหง้า หรือหัวที่อยู่ในดิน
สรรพคุณ :
  • เป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง ใจสั่นหวิว ขับปัสสาวะพิการ แก้บิดมูกเลือด แก้ปวดมวนในท้อง ท้องเดิน ใช้หัว หรือเหงาปิ้งไฟให้สุกินกับน้ำปูนใส ถ้าเป็นโรคที่เกี่ยวกับกามตายด้านหรือบำรุงกำหนัด ใช้นมกระชายดำและหัวดอง หรือแช่กับเหล้ากิน
 
หมายเหตุ :
  • กระชายมีทั้งหมด 3 ประเภท เช่น กระชายดำ กระชายแดง กระชายเหลือง สำหรับกระชายที่ใช้ในการปรุงอาหาร คือ กระชายเหลือง Kaempferia pandurata Roxb. In Siam Plant Names,1948,p.287 “กระชาย (ไทย): ลำแอน กระแอน (พายัพ); โป้ตาวอ (กะเหรี่ยงกำแพง);ชี้พู่(เงี้ยง).”Gastrochilus panduratum Burkill,I,1935,p.1035,p.1061 “Temu Kunchi; in Jaava, Kunchi; in Siam, Kachai.”
 
อ้างอิง : วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม.พจนานุกรมสมุนไพรไทย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพ ฯ : รวมสาสน์ (1977), 2548.=